กินหอยสดที่ Maliston ~ [บอลข่าน 6 – Croatia]

เราล่องใต้มาเรื่อยๆ ก่อนเข้า Dubrovnik  ก็มาถึงจุดหมายที่เป็น Highlight สำคัญ (ของเพลิน) เลย นั่นก็คือการ “กินหอยสดๆ จากทะเล” นั่นเอง
อ๊ะๆ ไม่ต้องคิดไกล มันคือหอยนางรมสด หอยแมลงภู่สด กลางทะเลอาเดรียติกที่
“มาลีสตอน (MALISTON)” นั่นเองค่ะ

มาลีสตอน เป็นเขตเล็กๆ เปรียบเหมือนตำบลของเมืองสตอน  (STON) 
Mali = Small
Maliston = เมืองสตอนน้อยๆ 

DSC08340

Maliston มีกำแพงเมืองสตอนที่ยาวที่สุดในยุโรป และยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกำแพงเมืองจีน

ถึงกำแพงเมืองสตอนจะยาวเพียง 5.5 กิโลเมตร เทียบกับกำแพงเมืองจีนที่ยาวตั้ง 8,826 กิโลเมตรไม่ได้ แต่ก็ถือว่าชันมากๆ นะคะ

ช่วงฤดูร้อนชาวยุโรปนิยมจัด Min-half Marathon ขึ้นกำแพงเมืองสตอนกันด้วยค่ะ

maliston_edit1

 

แต่วันนี้เพลินไม่อยากมาพิชิตกำแพงเมืองสตอนนะคะ อยากจะมากินหอยสดๆ มากกว่า
เพราะเป็นแฟนตัวจริงของหอยนางรมค่ะ

เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนนู้น ชาวเมืองมาลีสตอนทำนาเกลือกัน แต่ปัจจุบันหันมาเลี้ยงหอยเป็นหลักกันค่ะ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นต้นตำรับกินหอยสดกลางทะเล

เรียกว่ามาเที่ยวมาลีสตอน ก็ต้องมากินหอยนี่แหละค่ะ

เดี๋ยวเราจะนั่งเรือไปทานหอยกันกลางทะเลอาเดรียติกนะคะ เรือจะไปหยุดที่โป๊ะกลางน้ำ แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ประจำโป๊ะอธิบายและเสิร์ฟหอยให้เราทานกัน

ฟ้าใสมากๆ เลยว่าไหมคะ
DSC08348

ระหว่างทางไปโป๊ะกลางทะเล แดดแรงจัดมาก ลมก็แรงมากจนหัวกระเซิง หมวกแทบปลิว เดินไปมานี่สามารถล้มเอาได้ง่ายๆ ใจจริงอยากจะนั่งหลบแดดหลบลมชั้นล่างเรือ แต่ฟ้าใสขนาดนี้ก็ต้องยอมขึ้นบนฟ้าท้าแดดเก็บบรรยากาศสักหน่อย

ระหว่างทางบนเรือจะมีไวน์เสิร์ฟด้วย เรียกว่ากะมอมให้ครึ้มกันตั้งแต่หัววันเลยทีเดียว
ถ้าใครเมาเรือเพลินแนะนำนั่งข้างล่างดีที่สุดค่ะ เพราะลมค่อนข้างแรง เรือจะโคลงเคลงไปมา

นั่งไปแป๊บเดียวก็ถึงโป๊ะแล้วค่ะ โป๊ะแข็งแรง รองรับคนได้ราว 30 คนไม่โคลงเคลง

มีทั้งส่วนที่มุงหลังคาด้วยหญ้าให้ร่มเงาแบบที่พอจะกล้อมแกล้มว่า Indoor ได้บ้าง และส่วนที่เห็นแบบในรูปที่เผยรับแดดเต็มๆ

DSC08384

เมื่อถึงโป๊ะจะมีเจ้าหน้าที่ “ต้อน” พวกเรามาที่โต๊ะ อธิบายความเป็นมาของเจ้าหอยทั้งหลาย ก่อนจะเสิร์ฟหอยนางรม หอยแมลงภู่ให้ทานกันสดๆ และยังเสิร์ฟไวน์กับเหล้าท้องถิ่นที่ผสมโรสแมรี่ (เพลินไม่รู้ชื่อเหล้านะคะ) ให้ทานแกล้มตลอดด้วย

เก็บมาสดๆ และให้เราทานกันสดๆ!

DSC08372

เจ้าหน้าที่เป็นหนุ่มหน้ามน พูดสำเนียงอังกฤษแบบยุโรปตะวันออก ก็ฟังยากนิดหน่อยแต่ก็พอไหว
ฮีอธิบายให้ฟังว่าการเลี้ยงหอยเค้าทำกันยังไง

เค้าจะแยกเป็น อนุบาลหอย คือเลี้ยงหอยเล็กๆ โดยหย่อนไปในทะเล 1 ปี พอครบกำหนดก็เอาหอยสองตัวมาจับคู่กัน แล้วประกบด้วยซีเมนต์ แล้วหย่อนลงทะเลอีก 2 ปี โดยโซนนี้จะแยกจากโซนอนุบาลหอยละ พอครบกำหนด 2 ปีถึงจะเอาขึ้นมาทานได้

เพิ่งรู้เหมือนกันค่ะว่าต้องเลี้ยงหอยตั้ง 3 ปีแน่ะกว่าจะกินหอยได้

DSC08375

DSC08374

คนชอบหอยนางรมสดอย่างเพลินก็ฟินมาก ทางฟาร์มเค้ามีเลมอนลูกโตกับซอสแดงใสๆ รสอมเปรี้ยวไว้ให้บีบราดลงไปแกล้มหอยแก้เลี่ยน เท่านี้ก็ว่าฟินแล้ว แต่กลุ่มคนไทยล้ำกว่าด้วยการพกน้ำจิ้มซีฟู้ดกับใบกระถินมาด้วย! ได้รสเปรี้ยวจากน้ำจิ้มจี๊ดจ๊าดสะใจ กับรสหวานจากกระถินมาตัดความสดคาวๆ เค็มๆ จากเนื้อหอย จี๊ดมาก อร่อยไร้คำบรรยาย…

DSC08378

DSC08381

เพลินทานไปเป็นสิบตัวได้มั้งคะ แคลอรี่กระฉูดเลย ไม่เอา ไม่พูดดีกว่า จำแต่ความอร่อยก็พอ

พอทานจนอิ่มแปล้เราก็นั่งเรือกลับเข้าฝั่ง ทานอาหารที่ภัตตาคารที่อยู่ตรงท่าเรือนั้นเลย ขึ้นฝั่งมาก็อยู่ตรงหน้า ชื่อว่าร้าน Bota Sare เจ้าของร้านเป็นคนเดียวกับเจ้าของฟาร์มหอยนั่นเอง

DSC08342

จานแรกเสิร์ฟด้วยซุปปลา ก็เมืองทะเลน่ะนะ ปลาเค้าก็เลยสดมาก และอร่อยมากๆ เนื้อปลาชิ้นๆ เต็มปากเต็มคำไม่ใช่วิญญาณปลา และใส่ข้าวเข้าไปด้วย ข้าวเค้าเม็ดใหญ่ แข็งนิดๆ กำลังอร่อย

ลักษณะคล้ายข้าวต้มบ้านเรา แต่น้ำซุปเป็นรสชาติแถบอาเดรียติกเลยค่ะ ทั้งกลิ่นเครื่องเทศเครื่องปรุง

กลมกล่อมไปอีกแบบ

เข้ามาประเทศแถบบอลข่านนี้จะเห็นแมวจรเยอะมาก เจ้าตัวนี้ก็เช่นกัน มานั่งรอทำตาเว้าวอนรอเศษปลาตล๊อดๆ ดูทำหน้าทำตาสิ ใครก็ต้องให้รึเปล่า สงสารก็เลยแอบให้เศษปลาไปหน่อยค่ะ

IMG_5412

จานเด็ดของร้านนี้เพลินยกให้ Calamari หรือปลาหมึกทอดกรอบนั่นเอง คือจะว่าลำเอียงก็ได้เพราะเป็นคนชอบทานปลาหมึกอยู่แล้ว

แต่ที่นี่ทอดดี ปรุงรสแป้งเค็มนิดๆ อมเผ็ดหน่อยๆ และตัวปลาหมึกเองก็มีความเค็มเฉพาะของมันอยู่แล้ว บางคนติงว่าเค็มไปค่ะ แต่เพลินชอบมาก เพลินว่ามันกำลังดี

เจ้าแมวน้อยก็มองอีกแล้ว เลยแอบตัดเศษปลาหมึกให้นางไปเล็กน้อย ทำตาแป๋วน่าสงสารขนาดนี้ เลยนึกถึงแมวน้อยของตัวเองที่บ้าน คิดถึงแอ๊บบี้ขึ้นมาเลย

IMG_5416

อาหารจานหลัก (Main Course) เป็นสเต๊กปลาหางดาบ (Sword Fish)  ปกติเพลินไม่ชอบทานสเต๊กปลาเท่าไหร่ แต่จานนี้เค้าทำโอเคนะคะ มีรสชาติในตัวและไม่คาวมาก ก็ถือว่าโอเคค่ะสำหรับคนไม่ค่อยชอบสเต๊กปลาอย่างเพลิน

DSC08394

ของหวานสุดท้ายเค้าเสิร์ฟพายกับไอติมจานยักษ์เลย แต่เพลินขอบายค่ะ อิ่มมากๆ อิ่มทั้งหอยจากบนโป๊ะ อิ่มทั้งจากมื้อนี้

แต่เดี๋ยวก็จะได้ไปเดินย่อยกันที่ดูบรอฟนิกแล้วค่ะ คราวนี้ต้องเดินกันยาววววว……

ไม่ทันไรก็ต้องอำลา “สตอนน้อย” หรือ “มาลีสตอน“​ ซะแล้ว

แต่ก็ฟินกับการทานหอยสดกลางทะเลอาเดรียติกมากๆ เลย

เรียกได้ว่าถ้าได้กลับมาโครเอเชียอีกครั้ง มาลีสตอนเป็นเมืองที่เพลินอยากจะกลับมาเป็นอันดับแรก… ก็แค่คิดถึงหอยนางรมสดกับซอสเปรี้ยวจี๊ดก็น้ำลายไหลแล้วววว

DSC08345

เดี๋ยวเจอกันที่ Dubrobnik (ดูบรอฟนิก)​ นะคะ

TIPS
สำหรับคนที่แพลนอยากเที่ยวมาลีสตอน ให้แวะเป็นเมืองทางผ่าน ไม่แนะนำให้ค้างเพราะโรงแรม รีสอร์ตย่านนี้มักกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ และกำหนดให้พักขั้นต่ำ 2-3 คืนขึ้นไป
เหมาะกับคนที่อยากมาตากอากาศชิลๆ เงียบๆ หลายๆ วัน แต่สำหรับคนไทยอาจจะเบื่อได้ค่ะ
เพราะต้องการเก็บเที่ยวหลายๆ ที่

 

อ่านเรื่องทริปบอลข่านตั้งแต่ต้นได้ที่

 

Slovenia

1.BLED, Slovenia ไข่มุกแห่งเทือกเขาแอลป์ ทะเลสาบน้อยในเงื้อมเขา
https://ploen-thejourney.com/2017/10/22/bled-pearl-of-alps-ไข่มุกแห่งเทือกเขาแ/

2. POSTOJNSKA JAMA, Slovenia ถ้ำโพสทอยน่า ใต้ความมืดแห่งโลกล้านปี
https://ploen-thejourney.com/2017/10/29/postojnska-jama-ถ้ำโพสทอยน่า-ใต้ความม/

CROATIA

3. ZAGREB: นครซาเกร็บ: เรื่องเล่าเผ่าโครแอทกับอารยธรรมพันปี
https://ploen-thejourney.com/2017/10/30/zagreb-croatia-นครซาเกร็บ-เรื่องเล่/

4. KARLOVAC – PLITVICE – ZADAR จากอนุสรณ์สงคราม สู่สรวงสวรรค์บนดิน จรดฝั่งอาเดรียติก
https://ploen-thejourney.com/2017/11/07/plitvice-สวนสวรรค์บนดิน-บอลข่าน/

5. SIBENIK ดินแดนเกาะทรงก้ามปู สู่ Trogir 
https://ploen-thejourney.com/2017/11/07/sibenik/

6. SPLIT กับดิโอคลิเชียนผู้ยิ่งใหญ่และโหดร้าย 
https://ploen-thejourney.com/2017/11/21/croatia-split/

7. กินหอยสดที่ MALISTON 
https://ploen-thejourney.com/2018/01/25/กินหอยสดที่-maliston-บอลข่าน-6-croatia/

 

5 Comments

  1. Subztitle

    ข้อมูลแน่นกับรูปสวยฮะ ส่วนหอยนางรมกับ Sword fish ก็น่าทาน
    ขอบคุณสำหรับรีวิวครับพ้ม 🙂

    Liked by 1 person

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.